๑. ด้านกัมพูชา
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ปฏิบัติงานสำรวจในพื้นที่ตอนที่ ๕ (หลักเขตแดนที่ ๑ – หลักเขตแดนที่ ๒๓) ตามขั้นตอนที่ ๑ ของ TOR
ปี ๒๕๔๖ สำรวจในพื้นที่ จว.ศ.ก. และ จว.ส.ร. ร่วมกับฝ่ายกัมพูชา เพื่อสำรวจสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ทำการสำรวจ จำนวน ๖ หลัก (หลักเขตแดนที่ ๑๒ – หลักเขตแดนที่ ๗) โดยมี ผลการปฏิบัติงานดังนี้
๑.๑ ปฏิบัติงานสำรวจสภาพและค้นหาที่ตั้งหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา
สรุปได้ดังนี้
๑.๑.๑ กรุยแนวเพื่อสำรวจวงรอบและสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศบริเวณพื้นที่ที่คาดว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๘
๑.๑.๒ จัดทำเอกสารรายงานการสำรวจประจำวัน
๑.๑.๓ รวมผลการปฏิบัติงานในพื้นที่ตอนที่ ๕ (หลักเขตแดนที่ ๘ – หลักเขตแดนที่ ๔) คิดเป็นร้อยละ ๙ ของแผนงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
๑.๒ กองสนามฯ (ฝ่ายไทย) ได้ดำเนินการปฏิบัติการจิตวิทยา ประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือประชาชน เพื่อเสริมการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วม ไทย – กัมพูชา ดังนี้
๑.๒.๑ เมื่อ ๑๒ ต.ค.๕๘ ร่วมกิจกรรมพิธีแซนโฎนตา ก่อนปิดภาคเรียนเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ณ โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ ในพระอุปถัมภ์
ต.เทพรักษา อ.สังขะ จว.ส.ร.
๑.๒.๒ เมื่อ ๑๘ – ๒๑ ต.ค.๕๘ ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม ทาสี ติดตั้งหลอดไฟส่องสว่างและพัดลมเพดานให้กับศาลาประชาคมบ้านอามุย ต.เทพรักษา อ.สังขะ จว.ส.ร
๑.๒.๓ เมื่อ ๒๗ ต.ค.๕๘ จัดกิจกรรมการบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา และความรู้เกี่ยวกับแนวเขตแดนระหว่างประเทศ ณ ศาลาประชาคมบ้านอามุย ต.เทพรักษา อ.สังขะ จว.ส.ร. ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ ๑๕๐ คน ได้รับความร่วมมือและตั้งใจ
เข้าร่วมกิจกรรมอย่างดีมาก นอกจากนี้กองสนามฯ ยังได้มอบ ยารักษาโรค ของใช้
ในครัวเรือน เครื่องนอน เครื่องใช่ไฟฟ้า ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม และมอบอุปกรณ์กีฬาให้กับผู้ใหญ่บ้านอามุย เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายเล่นกีฬา
ต้านภัยยาเสพติด
๑.๓ แผนการปฏิบัติงานต่อไปในเดือน พ.ย.๕๘ สำรวจสภาพและค้นหาที่ตั้ง ที่ถูกต้องของหลักเขตแดนที่ ๘ บริเวณช่องลำเอน ต.ตาตุม อ.สังขะ จว.ส.ร. ปฏิบัติงานต่อเนื่องจากเดือน ต.ค.๕๘
๑.๔ ปัญหาและอุปสรรค
๑.๔.๑ พื้นที่ปฏิบัติงานเป็นป่ารกทึบพื้นที่ลาดชัน และมีอันตราย
จากทุ่นระเบิดที่วางไว้เดิมในอดีตซึ่งมีจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องตรวจค้นเก็บกู้ทุ่นระเบิด/กับระเบิดให้ปลอดภัยก่อนที่จะปฏิบัติงานสำรวจ จึงทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความล่าช้า โดยในเดือน ต.ค.๕๘ พบทุ่นระเบิดชนิดMBV78 A2 บริเวณ
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๘ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๙๐ ม. จำนวน ๖ ทุ่น