๓. ด้านมาเลเซีย
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย – มาเลเซีย ทำการสำรวจ ตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาหลักเขตแดนไทย – มาเลเซีย ร่วมกับฝ่ายมาเลเซียในพื้นที่ความเร่งด่วน IV ตอน A – F บริเวณ อ.เบตง จว.ย.ล. รวมระยะทางประมาณ๒๘.๙ กม. โดยมีผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
๓.๑ สำรวจในพื้นที่เร่งด่วน IV ตอน F ตั้งแต่ (BP 54/223 – BP 54 A) ระยะทาง ๕.๓ กม. มีผลการปฏิบัติงานสรุปได้ดังนี้
๓.๑.๑ การกำหนดตำแหน่งและสร้างหลักเขตแดนที่เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (Refixation Survey)
๓.๑.๒ สำรวจตรวจสอบหลักเขตแดนซ้ำด้วยวิธีวงรอบ (Resurvey)
๓.๑.๓ ทาสีและถ่ายรูปหลักเขตแดน (Painting & Photography of Boundary Pillars/Markers) จำนวน ๑๐๒ หลัก
๓.๑.๔ ผลการปฏิบัติงานในพื้นที่ความเร่งด่วน IV ตอน F ในเดือน ส.ค.๕๘
ได้ระยะ ๓.๑ กม. คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๕ รวมผลการปฏิบัติงานพื้นที่เร่งด่วน IV ตอน F
ได้ระยะ ๕.๓ กม. คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
๓.๒ รวมผลการปฏิบัติงานสำรวจ ตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาหลัก
เขตแดนไทย – มาเลเซีย รวมผลการปฏิบัติงานตั้งแต่ ต.ค.๕๗ – ส.ค.๕๘ ได้ระยะ
๒๘.๙ กม. คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
๓.๓ ปัญหาและอุปสรรค
๓.๓.๑ สภาพภูมิประเทศ การเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นถนนเลียบแนวชายแดนซึ่งแคบและคดเคี้ยวฝั่งซ้ายเป็นหุบเขาลึกฝั่งขวาติดแนวเขาสูง ซึ่งเกิดจากการตัดภูเขาเพื่อสร้างถนนเลียบแนวชายแดนของฝั่งไทย ถ้าฝนตกถนนจะลื่น เป็นอันตรายมาก เมื่อสิ้นสุดเส้นทางเดินรถ ชุดสำรวจต้องเดินเท้าเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น มีความลาดชันสูง เจ้าหน้าที่สำรวจ และชุดรักษาความปลอดภัยต้องปฏิบัติงานสำรวจด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง และต้องปรนนิบัติบำรุงเครื่องมือสำรวจเพิ่มมากยิ่งขึ้น
๓.๓.๒ สภาพภูมิอากาศ อากาศร้อน อบอ้าวในตอนกลางวัน ตอนบ่ายมีเมฆมาก และฝนตก เจ้าหน้าที่ต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายอยู่เสมอ
๓.๕ อื่น ๆ
– เมื่อ ๒๕ – ๒๗ ส.ค.๕๘ พล.ท. กฤษณ์ รัมมนต์ จก.ผท.ทหาร/ประธานคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมไทย – มาเลเซีย เป็นประธานการประชุมเตรียมการคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ ๔๖ (JTC – 46) ร่วมกับฝ่ายมาเลเซีย
ณ โรงแรมเซ็นทาราหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จว.ส.ข.