๒. ด้านลาว
๒.๑ งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมระหว่างไทย – ลาว ปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในบริเวณพื้นที่ที่ยังคงเป็นปัญหา ไม่สามารถสร้าง
หลักเขตแดนได้ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทย – ลาว ร่วมกับฝ่ายลาว โดยมีผล
การปฏิบัติงาน ดังนี้
๒.๑.๑ บริเวณระหว่างหลักเขตแดนที่ ๒ – ๑๖ และ ๒ – ๑๗ (ช่องทาง
บ้านฮวก – กิ่วหก) อ.ภูซาง จว.พ.ย. จัดทำบันทึกผลการลากแนวเส้นเขตแดนที่เสนอ (Proposed Boundary Line) ที่ไม่เป็นเอกภาพในแผนผังสนาม ตามความเห็นของ
แต่ละฝ่าย แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
๒.๑.๒ บริเวณระหว่างหลักเขตแดนที่ ๒ – ๒๗ และ ๓ – ๐๑ (ช่องน้ำหลุ)
อ.สองแคว จว.น.น. จัดทำบันทึกผลการลากแนวเส้นเขตแดนที่เสนอ (Proposed Boundary Line) ที่ไม่เป็นเอกภาพในแผนผังสนาม ตามความเห็นของแต่ละฝ่าย แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
๒.๑.๓ บริเวณที่วางแผนจะกำหนดจุดก่อสร้างหลักเขตแดนที่ ๑๕ – ๑๘,
๑๕ – ๑๙, ๑๕ – ๒๐ และ ๑๕ – ๒๑ (ทุ่งหนองบัว) อ.สิรินธร จว.อ.บ. สำรวจเก็บรายละเอียดครอบคลุมพื้นที่ระหว่างแนวสันปันน้ำที่แต่ละฝ่ายยึดถือ พร้อมทั้งจัดทำแผนผังสนามมาตราส่วน ๑ : ๑,๐๐๐ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
๒.๑.๔ บริเวณที่วางแผนจะกำหนดจุดก่อสร้างหลักเขตแดนที่ ๒ – ๐๘ (ผาหม่น) อ.เวียงแก่น จว.ช.ร. จัดทำรายงานชี้แจงเหตุผลการลากแนวสันปันน้ำที่ไม่เป็นเอกภาพ
ในแผนผังสนาม แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
๒.๑.๕ รวมผลการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ ๖๕ ของแผนการปฏิบัติงานเขตแดนทางบก ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘
๒.๒ ชุดปฏิบัติงานสนามสังเกตการณ์และอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายลาวในการสำรวจรังวัดค่าพิกัดจุดอ้างอิงด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GPS) ริมฝั่งแม่น้ำโขงร่วมไทย – ลาว ปฏิบัติงานในพื้นที่ จว.ช.ร. จว.พ.ย. จว.น.น. จว.อ.ต. จว.พ.ล. จว.ล.ย. จว.น.ค. จว.บ.ก. จว.น.พ. จว.ม.ห. จว.อ.จ. และ จว.อ.บ. จำนวนทั้งสิ้น ๑๖๗ จุด โดยมีผลการปฏิบัติงานดังนี้
๒.๒.๑. ปฏิบัติงานสนามสังเกตการณ์และอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายลาวในการสำรวจรังวัดค่าพิกัดจุดอ้างอิงด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GPS) ริมฝั่งแม่น้ำโขงร่วมไทย – ลาว สรุปได้ดังนี้
๒.๒.๑.๑ พื้นที่ จว.ม.ห. จำนวน ๑๑ จุด
๒.๒.๑.๒ พื้นที่ จว.อ.จ. จำนวน ๘ จุด
๒.๒.๑.๓ พื้นที่ จว.อ.บ. จำนวน ๓๕ จุด
๒.๒.๒. รวมปฏิบัติงานสังเกตการณ์และอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายลาว ทำการสำรวจรังวัดค่าพิกัดจุดอ้างอิงฯ ในเดือน เม.ย. รวมปฏิบัติงานทั้งสิ้น ๑๖๗ จุด (ก.พ. – เม.ย.) คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ (ก.พ. – เม.ย.) คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐