๑. ด้านกัมพูชา
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ปฏิบัติงานสำรวจในพื้นที่ตอนที่ ๕ (หลักเขตแดนที่ ๑ – หลักเขตแดนที่ ๒๓) ตามขั้นตอนที่ ๑ ของ TOR
ปี ๒๕๔๖ สำรวจในพื้นที่ จว.ศ.ก. และ จว.ส.ร. ร่วมกับฝ่ายกัมพูชา เพื่อสำรวจสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ทำการสำรวจ จำนวน ๖ หลัก (หลักเขตแดนที่ ๑๒ – หลักเขตแดนที่ ๗) โดยมี ผลการปฏิบัติงานดังนี้
๑.๑ ปฏิบัติงานสำรวจค้นหาสภาพและที่ตั้งหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา
สรุปได้ดังนี้
๑.๑.๑ ขยายโครงข่ายหมุดหลักฐานทางราบ โดยการสร้างหมุดควบคุม จำนวน ๒ หมุด พร้อมทั้งรังวัดสัญญาณดาวเทียม GPS เพื่อนำค่าพิกัดทางราบของหมุดดังกล่าวมาใช้ในการสำรวจวงรอบและสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ
๑.๑.๒ กรุยแนวสำหรับการสำรวจวงรอบและสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ บริเวณพื้นที่ที่คาดว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๑๑
๑.๑.๓ จัดทำเอกสารรายงานการสำรวจประจำวัน
๑.๑.๔ รวมผลการปฏิบัติงานในพื้นที่ตอนที่ ๕ (หลักเขตแดนที่ ๑๒ – หลักเขตแดนที่ ๗) คิดเป็นร้อยละ ๒๖ ของแผนงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘
๑.๒ กองสนามฯ (ฝ่ายไทย) ได้ดำเนินการปฏิบัติการจิตวิทยา ประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือประชาชน เพื่อเสริมการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วม
ไทย – กัมพูชา ดังนี้
๑.๒.๑ เมื่อ ๑๔ – ๑๗ ก.พ.๕๘ ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม ทาสี
ติดตั้งหลอดไฟส่องสว่าง ศาลาประชาคมบ้านเทพรักษา ต.เทพรักษา อ.สังขะ จว.ส.ร.
๑.๒.๒ เมื่อ ๒๓ ก.พ.๕๘ จัดกิจกรรมการบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา และความรู้เกี่ยวกับแนวเขตแดนระหว่างประเทศ ณ ศาลาประชาคมบ้านเทพรักษา ต.เทพรักษา อ.สังขละ จว.ส.ร.
ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ ๑๗๐ คน ได้รับความร่วมมือและ
ตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างดีมาก นอกจากนี้กองสนามฯ ยังได้มอบยารักษาโรค
ของใช้ในครัวเรือน เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้าให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม
และมอบอุปกรณ์กีฬาให้กับผู้ใหญ่บ้านเทพรักษาเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายเล่นกีฬา ต้านภัยยาเสพติดด้วย
๑.๓ ปัญหาและอุปสรรค
๑.๓.๑ พื้นที่ปฏิบัติงานฝั่งไทยและฝั่งกัมพูชา ส่วนใหญ่มีลักษณะภูมิประเทศ
เป็นป่า พื้นที่ลาดชัน และยังเป็นพื้นที่ที่มีอันตรายจากทุ่นระเบิดที่วางไว้เดิมในอดีต
จึงมีความจำเป็น ต้องตรวจค้นทุ่นระเบิด/กับระเบิด ให้ปลอดภัยก่อนที่จะปฏิบัติงานสำรวจ จึงทำให้การปฏิบัติงาน เป็นไปด้วยความล่าช้า
๑.๓.๒ การตรวจพบทุ่นระเบิด/กับระเบิด
การปฏิบัติงานในช่วงเดือน ก.พ.๕๘ ได้ตรวจพบทุ่นระเบิด
กับระเบิดและขวาก ดังนี้
๑.๓.๒.๑ กับระเบิด ชนิด PMN บริเวณทิศตะวันตกของ
หลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๓๕ – ๑๔๐ ม. จำนวน ๔๕ ทุ่น บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ
๓๐ – ๑๓๕ ม. จำนวน ๑๕ ทุ่น และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๓๐ – ๑๓๕ ม. จำนวน ๑๘ ทุ่น รวมมีจำนวน ๗๘ ทุ่น
๑.๓.๒.๒ กับระเบิด ชนิด POMZ บริเวณทิศตะวันตกของ
หลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๔๕ – ๑๕๐ ม. จำนวน ๑๓ ทุ่น
และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๓๐ – ๑๓๕ ม. จำนวน ๑๙ ทุ่น รวมมีจำนวน ๓๒ ทุ่น
๑.๓.๒.๓ กับระเบิด ชนิด PMD-6M บริเวณทิศตะวันตก
ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๘๗ – ๑๔๐ ม. จำนวน ๓๖ ทุ่น บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๑๑๐ ม. จำนวน ๗ ทุ่น และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน)
ห่างออกไปประมาณ ๓๐ – ๑๔๐ ม. จำนวน ๙ ทุ่น รวมมีจำนวน ๕๒ ทุ่น
๑.๓.๒.๔ กับระเบิด ชนิด TYPE-69 บริเวณทิศตะวันตกของ
หลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๑๔๐ ม. จำนวน ๑ ทุ่น
๑.๓.๒.๕ ลูกกระสุน ค. ขนาด ๖๐ มม.จำนวน ๑ ลูก บริเวณ
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๖๕ ม.
๑.๓.๒.๖ ขวาก (ล้มลุก) บริเวณทิศตะวันตกของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๓๕ – ๑๔๐ ม. จำนวน ๑๔๑ อัน บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๒๐ – ๑๔๐ ม. จำนวน ๓๐๐ อัน และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๑ (ปัจจุบัน)
ห่างออกไปประมาณ ๙๐ – ๑๑๐ ม. จำนวน ๒๒๐ อัน รวมมีจำนวน ๖๖๑ อัน