๑. ด้านกัมพูชา
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ปฏิบัติงานสำรวจในพื้นที่ตอนที่ ๕ (หลักเขตแดนที่ ๑ – หลักเขตแดนที่ ๒๓) ตามขั้นตอนที่ ๑ ของ TOR
ปี ๒๕๔๖ สำรวจในพื้นที่ จว.ศ.ก. และ จว.ส.ร. ร่วมกับฝ่ายกัมพูชา เพื่อสำรวจสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ทำการสำรวจ จำนวน ๖ หลัก (หลักเขตแดนที่ ๑๒ – หลักเขตแดนที่ ๗) โดยมี ผลการปฏิบัติงานดังนี้
๑.๑ ปฏิบัติงานสำรวจค้นหาสภาพและที่ตั้งหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา
สรุปได้ดังนี้
๑.๑.๑ สำรวจวงรอบบริเวณพื้นที่ที่คาดว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๑๒
ได้จำนวน ๑๘ สถานี
๑.๑.๒ สำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ เพื่อจัดทำแผนผังสนามบริเวณพื้นที่ที่คาดว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๑๒
๑.๑.๓ ผลการสำรวจพบหลักเขตแดนที่ ๑๒ เป็นหลักคอนกรีต ทั้งนี้ชุดสำรวจร่วมไทย – กัมพูชา มีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับผลการสำรวจที่ตั้งของหลักฯ
และมีความเห็นว่าที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๑๒ ปัจจุบัน มีลักษณะสอดคล้องตามบันทึกวาจาจัดทำขึ้น ในปี ค.ศ. ๑๙๐๘ – ๑๙๐๙ และ ค.ศ. ๑๙๑๙ – ๑๙๒๐
๑.๑.๔ จัดทำเอกสารผลการสำรวจร่วมไทย – กัมพูชา ในการตรวจสอบสภาพและค้นหาที่ตั้งที่ถูกต้องของหลักเขตแดนที่ ๑๒
๑.๑.๕ จัดทำเอกสารรายงานการสำรวจประจำวัน
๑.๑.๖ รวมผลการปฏิบัติงานในพื้นที่ตอนที่ ๕ (หลักเขตแดนที่ ๑๒ –
หลักเขตแดนที่ ๗) คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ของแผนงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘
๑.๒ กองสนามฯ (ฝ่ายไทย) ได้ดำเนินการปฏิบัติการจิตวิทยา ประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือประชาชน เพื่อเสริมการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วม
ไทย – กัมพูชา ดังนี้
๑.๒.๑ เมื่อ ๑๑ – ๑๔ ธ.ค.๕๗ ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม ทาสี เปลี่ยนหลังคาติดตั้งหลอดไฟส่องสว่างและพัดลม ศาลาประชาคมบ้านไกรสรพัฒนา
ต.อาโพน อ.บัวเชด จว.ส.ร.
๑.๒.๒ เมื่อ ๑๗ ธ.ค.๕๗ จัดกิจกรรมการบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา และความรู้เกี่ยวกับแนวเขตแดนระหว่างประเทศ ณ ศาลาประชาคมบ้านไกรสรพัฒนา ต.อาโพน อ.บัวเชด จว.ส.ร.
ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ ๒๐๐ คน ได้รับความร่วมมือ
และตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างดีมาก นอกจากนี้กองสนามฯ ยังได้มอบยารักษาโรค
ของใช้ในครัวเรือน เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้าให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม
และมอบอุปกรณ์กีฬาให้กับผู้แทนโรงเรียนบ้านไกรสรพัฒนา เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน
ได้ออกกำลังกายเล่นกีฬา ต้านภัยยาเสพติดด้วย
๑.๓ ปัญหาและอุปสรรค
๑.๓.๑ พื้นที่ปฏิบัติงานฝั่งไทยและฝั่งกัมพูชา ส่วนใหญ่มีลักษณะ
ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ พื้นที่ลาดชัน และยังเป็นพื้นที่ที่มีอันตรายจากทุ่นระเบิดที่วางไว้เดิมในอดีต จึงมีความจำเป็น ต้องตรวจค้นทุ่นระเบิด/กับระเบิด ให้ปลอดภัยก่อนที่
จะปฏิบัติงานสำรวจ จึงทำให้การปฏิบัติงาน เป็นไปด้วยความล่าช้า
๑.๓.๒ การตรวจพบทุ่นระเบิด/กับระเบิด
การปฏิบัติงานในช่วงเดือน ธ.ค.๕๗ ได้ตรวจพบทุ่นระเบิด
กับระเบิดและขวาก ดังนี้
๑.๓.๒.๑ กับระเบิด ชนิด PMN จำนวน ๙ ทุ่น บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๒ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๑๘๓ ม.
๑.๓.๒.๒ กับระเบิด ชนิด POMZ บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๒ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๑๘๓ ม. จำนวน ๒ ทุ่น และบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๒ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ
๘๔ – ๑๖๓ ม. จำนวน ๗ ทุ่น
๑.๓.๒.๓ กับระเบิด ชนิด PMD – 6M จำนวน ๒ ทุ่น บริเวณ
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๒ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๘๔ ม.
๑.๓.๒.๔ ขวาก (ล้มลุก) จำนวน ๒๓ อัน บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที ๑๒ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๑๘๓ ม. และจำนวน ๒๐๐ อัน บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหลักเขตแดนที่ ๑๒ (ปัจจุบัน) ห่างออกไปประมาณ ๘๔ ม.