ด้านกัมพูชา
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ปฏิบัติงานสำรวจ
ในพื้นที่ตอนที่ ๕ (หลักเขตแดนที่ ๑ – ๒๓) ในเขต จว.ศ.ก. และ จว.ส.ร. ร่วมกับ
ฝ่ายกัมพูชา เพื่อสำรวจสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา โดยมี
ผลการปฏิบัติงานดังนี้
๑.๑ ปฏิบัติงานสำรวจสภาพและที่ตั้งหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา สรุปได้ดังนี้
๑.๑.๑ ตรวจสอบสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดนที่ ๑๔ ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน
๑.๑.๒ สำรวจลักษณะภูมิประเทศและค้นหาหมายพยานที่มีลักษณะสอดคล้องตามบันทึกวาจาแสดงที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๑๔ ที่จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๐๘ – ๑๙๐๙ และ ค.ศ. ๑๙๑๙ – ๑๙๒๐
๑.๑.๓ ขยายโครงข่ายหมุดหลักฐานทางราบ โดยสร้างหมุดควบคุม จำนวน ๒ หมุด พร้อมทั้งรังวัดสัญญาณดาวเทียม GPS เพื่อนำค่าพิกัดทางราบของหมุดดังกล่าวมาใช้ในการสำรวจวงรอบและสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ
๑.๑.๔ จัดทำเอกสารรายงานการสำรวจประจำวัน
๑.๑.๕ รวมผลการปฏิบัติงานได้ประมาณร้อยละ ๔๐
๑.๒ การปฏิบัติการจิตวิทยา ประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือประชาชน
เพื่อเสริมการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ดังนี้
๑.๒.๑ เมื่อ ๑๖ – ๑๙ เม.ย.๕๗ ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม ทาสี ติดตั้งระบบไฟฟ้าและหลอดไฟส่องสว่างของศาลาประชาคมบ้านโพธิ์ทอง ต.ตะเคียน
อ.กาบเชิง จว.ส.ร.
๑.๒.๒ เมื่อ ๒๐ เม.ย.๕๗ จัดกิจกรรมบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา และความรู้เกี่ยวกับแนวเขตแดนระหว่างประเทศ ณ บ้านโพธิ์ทอง ต.ตะเคียน อ.กาบเชิง จว.ส.ร. ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ ๑๕๐ คน ได้รับความร่วมมือและตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างดีมากนอกจากนี้กองสนามฯ ยังได้มอบยารักษาโรค ของใช้ในครัวเรือน เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้าให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม และมอบอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน – ท่านผู้หญิง สุประภาดา เกษมสันต์ ด้วย
๑.๓ ปัญหาและอุปสรรค
๑.๓.๑ พื้นที่ปฏิบัติงานฝั่งไทยและฝั่งกัมพูชา ส่วนใหญ่มีลักษณะ
ภูมิประเทศเป็นป่าพื้นที่ลาดชัน และยังเป็นพื้นที่ที่มีอันตรายจากทุ่นระเบิดที่วางไว้เดิมในอดีต จึงมีความจำเป็น ต้องตรวจค้นทุ่นระเบิด/กับระเบิด ให้ปลอดภัยก่อนที่
จะปฏิบัติงานสำรวจ จึงทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความล่าช้า นอกจากนี้ยังมีไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่อีกด้วย
๑.๓.๒ การตรวจพบทุ่นระเบิด/กับระเบิด
๑.๓.๒.๑ ตรวจพบกับระเบิดชนิดแสวงเครื่อง จำนวน ๑ ทุ่น บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหลักเขตแดนที่ ๑๔ ปัจจุบัน ประมาณ ๒๐๐ ม.
๑.๓.๒.๒ ตรวจพบขวาก (ล้มลุก) จำนวน ๒๐ อัน บริเวณ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหลักเขตแดนที่ ๑๔ ปัจจุบัน ประมาณ ๒๐๐ ม.