ด้านมาเลเซีย
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย – มาเลเซีย ทำการสำรวจ ตรวจสอบ ซ่อมแซมหลักเขตแดนตามแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย ในพื้นที่เร่งด่วน IXB ตอน A – D อ.นาทวี จว.ส.ข. ระยะทางประมาณ ๒๑.๔ กม. และพื้นที่เร่งด่วน VII ตอน A – B อ.เบตง จว.ย.ล. ระยะทางประมาณ ๘.๔ กม. รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๒๙.๘ กม. โดยมีผลการปฏิบัติงานดังนี้
๓.๑ ชุดสำรวจร่วมฯ ทำการสำรวจ ในพื้นที่เร่งด่วน IXB ตอน A (BP29 ถึง BP29/103)ระยะทาง ๖.๐ กม. อ.นาทวี จว.ส.ข. ในเดือน พ.ย.๕๖ ได้ระยะทาง ๓ กม.
มีรายละเอียดดังนี้
๓.๑.๑ ทำการกำหนดตำแหน่งและสร้างหลักเขตแดนที่เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (Refixation Survey) ได้จำนวน ๕ หลัก ในพื้นที่เร่งด่วน IXB ตอน A
๓.๑.๒ ทำการสำรวจตรวจสอบหลักเขตแดนซ้ำด้วยวิธีงานวงรอบ (Resurvey) ได้จำนวน ๕ สายงานวงรอบ
๓.๑.๓ ทำการทาสีและถ่ายรูปหลักเขตแดน (Painting & Photography of Boundary Pillars/Markers) ได้จำนวน ๑๐๔ หลัก
๓.๑.๔ ทำการกรุยแนว (Reconnaissance Survey) พื้นที่ความเร่งด่วน IXB ตอน B ตั้งแต่ BP29/103 – BP29/190 ได้จำนวน ๘๗ หลัก
๓.๒ ปัญหาและอุปสรรค
๓.๒.๑ สภาพภูมิประเทศ
๓.๒.๑.๑ บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานมีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน
โดยรอบ ๆ เชิงเขา เป็นป่ารกทึบ สลับกับป่าโปร่งเป็นบางช่วง ทำให้ยามเย็นจะมืดเร็วกว่าปกติ ชุดปฏิบัติงานสำรวจเข้าพื้นที่ในแต่ละครั้งต้องนอนพักแรม ครั้งละ ๓ – ๔ คืน ดังนั้นระหว่างเดินทางและการทำงานต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบเพราะการติดต่อกับโลกภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบากและต้องใช้เวลา
๓.๒.๑.๒ การเดินทางเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน ต้องใช้เส้นทาง
ในเขตประเทศมาเลเชียเพื่อไม่ให้เป็นที่สังเกตของขบวนการก่อความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ใช้เวลาในการเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ ๑.๕ – ๒ ชม. จึงจะถึงเชิงเขาบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน จากนั้นต้องเดินทางด้วยเท้าขึ้นไปยังหลักเขตแดนบริเวณสันเขาเพื่อปฏิบัติงานสำรวจต่อไป
๓.๒.๑ สภาพภูมิอากาศ มีฝนตกค่อนข้างชุก ช่วงเวลากลางวันอากาศร้อนสลับกับมีฝนตก ช่วงเย็นถึงค่ำอากาศร้อนชื้น และช่วงตอนดึกอากาศจะหนาวเย็นมาก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง การทำงาน สุขภาพของเจ้าหน้าที่ และเครื่องมือสำรวจ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ และลูกมือสำรวจจำเป็นต้องดูแลรักษาตัวเอง
และเครื่องมือสำรวจเป็นพิเศษ
๓.๓ อื่น ๆ
– ระหว่างปฏิบัติงานในขั้นตอนการกรุยแนว ในพื้นที่ความเร่งด่วน IXB ตอน B (ตั้งแต่ BP 29/103 ถึง BP 29/190) ชุดสำรวจร่วมฯ ได้ตรวจพบวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิด อยู่ในแนวทางเดินระหว่าง BP 29/142 ถึง BP 29/143 โดยอยู่ห่างไปทาง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ BP 29/143 ประมาณ ๑๐ – ๑๕ ม. ชุดสำรวจร่วมฯ ได้ทำสัญลักษณ์ และนำสิ่งกีดขวางมาปิดกั้นบริเวณที่พบวัตถุต้องสงสัยเพื่อความปลอดภัย
ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และชุดตรวจค้นวัตถุระเบิด จาก ช.พัน ๕ ที่มาสนับสนุนเจ้าหน้าที่สำรวจจะได้หามาตรการดำเนินการ ตรวจสอบบริเวณใกล้เคียงและเก็บกู้วัตถุ
ต้องสงสัยต่อไป
สรุป ผลการปฏิบัติงาน ได้ระยะทาง รวม ๖ กม. (ต.ค. – พ.ย.๕๖) คิดเป็นร้อยละ ๒๐ (ของระยะทาง ๒๙.๘ กม.)