ด้านมาเลเซีย
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย – มาเลเซีย ทำการสำรวจ ตรวจสอบ ซ่อมแซมหลักเขตแดนตามแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย ในพื้นที่เร่งด่วน IXB ตอน A – D อ.นาทวี จว.ส.ข. ระยะทางประมาณ ๒๑.๔ กม. และพื้นที่เร่งด่วน VII ตอน A – B อ.เบตง จว.ย.ล. ระยะทางประมาณ ๘.๔ กม. รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๒๙.๘ กม. โดยมีผลการปฏิบัติงานดังนี้
๔.๑ ชุดสำรวจร่วมฯ ทำการสำรวจ ในพื้นที่เร่งด่วน IXB ตอน A (BP29 ถึง BP29/103)ระยะทาง ๖.๐ กม. อ.นาทวี จว.ส.ข. ในเดือน ต.ค.๕๖ ได้ระยะทาง ๓ กม.
มีรายละเอียดดังนี้
๔.๑.๑ ทำการสำรวจกรุยแนว (Reconnaissance Survey) ได้จำนวน ๑๐๕ หลัก ตั้งแต่ BP29 – BP29/103
๔.๑.๒ ทำการสำรวจตรวจสอบหลักเขตแดนด้วยวิธีงานวงรอบ (Investigation Survey) ได้จำนวน ๑๐๕ หลัก
๔.๒ ปัญหาและอุปสรรค
๒.๑ พื้นที่ปฏิบัติงานมีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน โดยรอบเชิงเขาเป็นป่ารกทึบ สลับกับป่าโปร่งเป็นบางช่วง ทำให้มืดเร็วกว่าปกติ ชุดปฏิบัติงานสำรวจต้องนอนพักแรมในพื้นที่ครั้งละ ๓ – ๔ คืน ดังนั้นระหว่างเดินทางและการทำงานต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ เพราะการติดต่อกับภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบากและต้องใช้เวลา
๒.๒ การเดินทางเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน ต้องใช้เส้นทางในเขตประเทศมาเลเซีย
เพื่อไม่ให้เป็นที่สังเกตของขบวนการก่อความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้เวลา
ในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ ๑.๕ – ๒ ชม. จากนั้นต้องเดินทางด้วยเท้าขึ้นไปยัง
หลักเขตแดนบริเวณสันเขาเพื่อปฏิบัติงานสำรวจต่อไป
๒.๓ สภาพภูมิอากาศมีฝนตกชุก ช่วงเวลากลางวันอากาศร้อนสลับกับมีฝนตก ช่วงเย็นถึงค่ำอากาศร้อนชื้น ช่วงตอนดึกอากาศหนาวเย็นมาก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง การทำงาน สุขภาพของเจ้าหน้าที่ และเครื่องมือสำรวจ ดังนั้นเจ้าหน้าที่และลูกมือสำรวจจำเป็นต้องดูแลรักษาตัวเองและเครื่องมือสำรวจเป็นพิเศษ
สรุป ผลการปฏิบัติงาน ได้ระยะทาง ๓ กม. คิดเป็นร้อยละ ๑๐ (ของระยะทาง ๒๙.๘ กม.)