ด้านมาเลเซีย
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย – มาเลเซีย ทำการสำรวจ ตรวจสอบ ซ่อมแซมหลักเขตแดนตามแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย ในพื้นที่เร่งด่วน XV ตอน K อ.ธารโต จว.ยะลา ระยะทางประมาณ ๔.๐ กม. และพื้นที่เร่งด่วน IXA ตอน
A – D อ.สะเดา อ.นาทวี จว.สงขลา ระยะทางประมาณ ๑๘.๘ กม. รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๒๒.๘ กม. โดยมีผลการปฏิบัติงานดังนี้
๓.๑. ชุดสำรวจร่วมฯ ทำการสำรวจ ในพื้นที่เร่งด่วน IXA ตอน C (BP27/191 – BP28/46)ระยะทาง ๔.๘ กม. อ.สะเดา จว.สงขลา ในเดือน ก.ค.๕๖ ได้ระยะทาง ๓.๘ กม.
มีรายละเอียดดังนี้
๓.๑.๑ สำรวจ ตรวจสอบหลักเขตแดนด้วยวิธีวงรอบ ได้จำนวน ๙๒ หลัก ตั้งแต่ BP 27/191 ถึง BP 28/46
๓.๑.๒ กำหนดตำแหน่งและสร้างหลักเขตแดนที่เคลื่อนออกจาก ตำแหน่งเดิมให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ได้จำนวน ๒ หลัก
๓.๑.๓ สำรวจ ตรวจสอบหลักเขตแดนซ้ำด้วยวิธีวงรอบ ได้จำนวน ๒ สายงานวงรอบ ระยะทางรวม ๐.๒ กม.
๓.๑.๔ ทาสีและถ่ายรูปหลักเขตแดน ได้จำนวน ๙๒ หลัก ตั้งแต่ 27/191 ถึง BP 28/46
๓.๒ จก.ผท.ทหาร และคณะ ตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพล และตรวจผลการปฏิบัติงานในภูมิประเทศของกองสนามฯ ระหว่าง ๑๗ – ๑๙ ก.ค.๕๖ ณ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จว.สงขลา
๓.๓ ปัญหาและอุปสรรค
๓.๓.๑ พื้นที่ปฏิบัติงานและเส้นทางการเดินทาง (ฝั่งไทย) บางส่วน เป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้กำลังพลต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง
๓.๓.๒ สภาพภูมิประเทศ เส้นทางการเดินทางเป็นถนนลาดยางสลับเส้นทางในภูมิประเทศ ซึ่งเป็นป่าและถนนลูกรัง และต้องเดินทางต่อด้วยเท้าเข้าพื้นที่ ไปยังสันเขา ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทาง ๒.๕ ชม. จึงจำเป็นต้องเข้าไปพักแรมในภูมิประเทศ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
๓.๓.๓ สภาพภูมิอากาศ ขณะที่ปฏิบัติงานมีฝนตกบางเวลา และเวลา
ในตอนกลางคืนอากาศเย็นและชื้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อเครื่องมือสำรวจ และการเจ็บป่วยของกำลังพล
สรุป ผลการปฏิบัติงาน ได้ระยะทางรวม ๑๘.๕ กม. (ต.ค.๕๕ – ก.ค.๕๖) คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๑ (ของระยะทาง ๒๒.๘ กม.)