ด้านมาเลเซีย
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย – มาเลเซีย ทำการสำรวจ ตรวจสอบ ซ่อมแซมหลักเขตแดนตามแนวเส้นเขตแดนไทย – มาเลเซีย ในพื้นที่เร่งด่วน XV ตอน K อ.ธารโต จ.ยะลา ระยะทางประมาณ ๔.๐ กม. และพื้นที่เร่งด่วน IXA
ตอน A – D อ.สะเดา อ.นาทวี จ.สงขลา ระยะทางประมาณ ๒๒.๘ กม. รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๒๒.๘ กม. โดยมีผลการปฏิบัติงานดังนี้
๔.๑ ชุดสำรวจร่วมฯ ทำการสำรวจ ในพื้นที่เร่งด่วน IXA ตอน A (BP27 – BP27/102)ระยะทาง ๕.๐ กม. อ.สะเดา จ.สงขลา ได้ระยะทาง ๓.๒ กม. มีรายละเอียดดังนี้
๔.๑.๑ ทำการสำรวจตรวจสอบหลักเขตแดนด้วยวิธีวงรอบ (Investigation Survey) ตั้งแต่ BP27/51 – BP27/102 ได้จำนวน ๕๒ หลัก
๔.๑.๒ ทำการกำหนดตำแหน่งและสร้างหลักเขตแดนที่เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (Refixation Survey) ได้จำนวน ๓๐ หลัก
๔.๑.๓ ทำการสำรวจตรวจสอบหลักเขตแดนซ้ำด้วยวิธีวงรอบ (Resurvey) จำนวน ๘ สายงานวงรอบ
๔.๑.๔ ทำการปรับปรุงหลักเขตแดนให้มั่งคงแข็งแรง (Upgrading Boundary Pillars/Markers) จำนวน ๘ หลัก
๔.๑.๕ ทำการทาสีและถ่ายรูปหลักเขตแดน จำนวน ๑๐๒ หลัก ตั้งแต่ BP27 – BP27/102
๔.๒ ปัญหาอุปสรรค
๔.๒.๑ พื้นที่ปฏิบัติงานและเส้นทางการเดินทาง (ฝั่งไทย) บางส่วน
เป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้กำลังพลต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง
๔.๒.๒ สภาพภูมิประเทศบางช่วงเป็นป่ารกทึบสลับกับภูเขา บางช่วง
เป็นสวนยางของราษฎร ที่ปลูกติดกับแนวเขตแดนฝั่งไทย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานสำรวจ
๔.๒.๓ สภาพภูมิอากาศ อากาศร้อนอบอ้าวในตอนสายและกลางวัน
แต่บางวันมีฝนตกในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อเครื่องมือสำรวจ
สรุป ผลการปฏิบัติงาน ได้ระยะทางรวม ๙.๐ กม. (ต.ค.๕๕ – มี.ค.๕๖) คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๕ (ของระยะทาง ๒๒.๘ กม.)