ด้านลาว
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมระหว่างไทย – ลาว สำรวจเก็บรายละเอียดและจัดทำแผนผังสนาม บริเวณพื้นที่ที่มีปัญหาหลักเขตแดนคงค้าง ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.เชียงราย ร่วมกับฝ่ายลาว และงานที่สนับสนุนการสำรวจ ดังนี้
๒.๑ ชุดสำรวจร่วมทั้งสองฝ่ายได้พบปะหารือกันเพื่อติดตามความคืบหน้า
ในการปฏิบัติงานที่คงค้าง ดังนี้
๒.๑.๑ จัดทำรายงานชี้แจงเหตุผลการลากเส้นเขตแดนที่เสนอ (Proposed Boundary Line) บริเวณหลักเขตแดนที่ ๑๕ – ๑๖ และ ๑๕ – ๑๗
(ช่องเม็ก – วังเต่า) เทศบาลตำบลช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ที่ชุดสำรวจฯ
ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกันในการลากเส้นเขตแดนที่เสนอเป็นสองทิศทาง ยังไม่สามารถลงนามร่วมกันได้
๒.๑.๒ จัดทำบันทึกผลการสำรวจเก็บรายละเอียด บริเวณที่วางแผน
จะกำหนดจุดก่อสร้างหลักเขตแดนที่ ๒ – ๐๘ (ผาหม่น) บ้านร่มฟ้าผาหม่น ต.ปอ
อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ยังไม่สามารถลงนามร่วมกันได้
๒.๑.๓ การสำรวจเก็บรายละเอียดและจัดทำแผนผังสนามบริเวณแก่งผาได
บ้านห้วยลึก ต.ม่วงยาย อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ชุดสำรวจทั้งสองฝ่ายสามารถลงนาม
ในแผนผังสนามแล้ว จำนวน ๑๑ ระวาง ส่วนแผนผังสนามอีก จำนวน ๒ ระวาง
ยังไม่สามารถลงนามร่วมกันได้
๒.๑.๔ ผลการปฏิบัติงานร่วมในภาพรวมทั้ง ๓ บริเวณ ไม่มีความคืบหน้า
หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ในทางเทคนิคไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ผท.ทหาร จะได้แจ้งให้ กต. ทราบอย่างเป็นทางการ เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป
๒.๒ การปฏิบัติการจิตวิทยา ประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือประชาชน เพื่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมระหว่างไทย – ลาว บริเวณ รร.บ้านผาแล
ต.ปอ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย โดยจัดให้มีการบรรยายความรู้เกี่ยวกับแนวเขตแดน
ไทย – ลาว และมอบเครื่องเขียนและอุปกรณ์กีฬา ซึ่งผลการดำเนินการ คณะครูอาจารย์ นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวเขตแดนไทย – ลาว เป็นอย่างดี
๒.๓ ตรวจภูมิประเทศฝ่ายเดียวบริเวณบ้านร่มเกล้า ต.บ่อภาค อ.ชาติตระการ
จ.พิษณุโลก ในพื้นที่ปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายอ้างแนวเส้นเขตแดนบริเวณต้นน้ำเหือง
ต่างสายกัน เพื่อตรวจสอบสภาพความเปลี่ยนแปลงของแนวที่ฝ่ายลาวยึดถือ
และหาข้อมูลสนับสนุนท่าทีของฝ่ายไทย
๒.๔ สนับสนุนข้อมูลทางเทคนิคของปัญหาหลักเขตแดนที่คงค้าง ในประเด็นหารือของฝ่ายไทยและฝ่ายลาว ให้กับคณะของ รอง นรม. และ รมว.กต. ไปเยือน
สปป.ลาว ณ นครหลวงเวียงจันทน์
๒.๕ อำนวยความสะดวกและสนับสนุนข้อมูลทางเทคนิค เกี่ยวกับปัญหา
หลักเขตแดนที่คงค้างให้กับคณะ กต. ในโอกาสที่เดินทางมาจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนข้อมูลกับส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ ร่วมตรวจภูมิประเทศบริเวณช่องเม็ก – วังเต่า บ้านทุ่งหนองบัว อ.สิรินธร และบริเวณห้วยดอน อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ ๖ – ๗ มี.ค.๕๖
๒.๖ จัดทำหลักเขตแดนจำลอง เพื่อสนับสนุนงาน ปจว. ปชส. และช่วยเหลือประชาชน จำนวน ๓ หลัก เพื่อให้ประชาชนได้ทราบขนาดหลักเขตแดนที่แท้จริง