ด้านกัมพูชา
งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ปฏิบัติงานสำรวจ ในพื้นที่ตอนที่ ๕ (หลักเขตแดนที่ ๑ – ๒๓) ในเขต จ.ศรีสะเกษ และ จ.สุรินทร์ ร่วมกับฝ่ายกัมพูชา เพื่อสำรวจค้นหาสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา โดยมี
ผลการปฏิบัติงานดังนี้
๑.๑ ปฏิบัติงานสำรวจค้นหาสภาพและที่ตั้งหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา สรุปได้ดังนี้
๑.๑.๑ สำรวจลักษณะภูมิประเทศและค้นหาหมายพยานที่มีลักษณะสอดคล้องตามบันทึกวาจา แสดงที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๒๒ บี และ ๒๒ ที่จัดทำขึ้นในปี ค.ศ.๑๙๐๙ และ ค.ศ.๑๙๑๙
๑.๑.๒ กรุยแนวและสำรวจวงรอบบริเวณพื้นที่ที่คาดว่าเป็นที่ตั้ง หลักเขตแดนที่๒๒ บี ได้จำนวน ๓๙ สถานี
๑.๑.๓ สำรวจรายละเอียดภูมิประเทศเพื่อจัดทำแผนผังสนามบริเวณพื้นที่ที่คาดว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๒๒ บี
๑.๑.๔ จัดทำเอกสารรายงานการสำรวจประจำวัน
๑.๒ การปฏิบัติการจิตวิทยา ประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือประชาชน ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา สรุปได้ดังนี้
๑.๒.๑ ปรับปรุงซ่อมแซม ทาสี เปลี่ยนหลังคา ติดตั้งหลังคาผ้าใบกันสาด ติดตั้งระบบไฟฟ้า และพัดลม ของศาลาเอนกประสงค์หมู่บ้านสระทอง ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
๑.๒.๒ จัดกิจกรรมการบรรยายข้อมูลและแจกแผ่นพับเกี่ยวกับ การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา และความรู้เกี่ยวกับแนวเขตแดนไทย – กัมพูชา ที่หมู่บ้านสระทอง ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ ๒๖๐ คน โดยได้รับ ความร่วมมือ และตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างดีมาก นอกจากนี้กองสนามฯ ยังได้มอบอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนบ้านสระทอง รวมทั้งได้มอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนอน ของใช้ในครัวเรือน และยารักษาโรค ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
๑.๒.๓ ปัญหาอุปสรรค พื้นที่ปฏิบัติงานฝั่งไทยและฝั่งกัมพูชา มีที่ตั้งของฐานทหารทั้งสองฝ่าย จึงมีข้อจำกัดในการเข้าสำรวจพื้นที่ได้ไม่ทั่วถึง รวมทั้งยังมีอันตรายจากทุ่นระเบิดที่วางไว้เดิม ในอดีต จึงมีความจำเป็นต้องตรวจค้นและเก็บกู้ทุ่นระเบิดให้ปลอดภัยก่อนที่จะปฏิบัติงานสำรวจ
สรุป ผลการปฏิบัติงานค้นหาสภาพและที่ตั้งหลักเขตแดน (พ.ค. – ส.ค.๕๕) สามารถค้นหาสภาพและที่ตั้งหลักเขตแดนที่ ๒๒ และ ๒๒ บี แต่ยังไม่แล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ ๗ ของการปฏิบัติงานค้นหาฯ หลักเขตแดน จำนวน ๒๓ หลัก